ภาพรวมเครื่องชี้สถานการณ์ SME

รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลทางสถิติของ MSME อย่างครอบคลุม และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์เชิงนโยบายและจัดทำมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ MSME ได้อย่างเฉพาะเจาะจงในแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ

ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ MSME ด้วยชื่อหรือคำอธิบายข้อมูล
ภาพรวมเครื่องชี้สถานการณ์ SME
/
ระบบเตือนภัย MSME
เครื่องชี้สถานการณ์ SME
ระบบเตือนภัย MSME

ระบบเตือนภัย MSME (SME Sectoral Indicator)

ปี
 
ไตรมาส
 
ดัชนี
ต้นทุน
0%
ดัชนี
รายได้
0%
ดัชนี
วงจรเงินสด
0%
ระดับสัญญาณเตือนภัย
  • ดัชนีต้นทุน : “เฝ้าระวัง”
    • ผู้ประกอบการ MSME ต้องเผชิญกับต้นทุนวัตถุดิบและการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งได้รับผลกระทบจากระดับราคาพลังงานที่ผันผวนและต้นทุนโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้น สาเหตุหลักมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนและการขาดเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทานโลก
  • ดัชนีรายได้ : “เฝ้าระวัง”
    • เนื่องจากความต้องการสินค้าของผู้บริโภคชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการ MSME ในภาคการผลิตต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากภาวะเงินเฟ้อและกำลังซื้อที่ลดลงทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
  • ดัชนีวงจรเงินสด : “เฝ้าระวัง”
    • จากการเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้วงจรเงินสดเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการ MSME ต้องใช้ระยะเวลาเพิ่มขึ้น ในการเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นสินค้าและเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนอาจประสบปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคาร ที่มีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งทำให้การหมุนเวียนเงินสดชะงักและสร้างปัญหาด้านสภาพคล่อง
ภาพรวมสภาวะเศรษฐกิจ : ไตรมาส 2 พ.ศ. 2567
  • ต้นทุนการผลิตและบริการปรับตัวสูงขึ้น: ผู้ประกอบการต้องประสบกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น จากการปรับตัวของต้นทุนในด้านสาธารณูปโภค อาทิ ไฟฟ้า และน้ำประปา ที่ส่งผลอย่างมากต่อผู้ประกอบการ MSME
  • ต้นทุนด้านแรงงานที่เกิดความผันผวน: ค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานมีความผันผวน โดยผู้ประกอบการ MSME กำลังเผชิญกับแรงกดดันในด้านการรักษาระดับแรงงาน
  • ต้นทุนด้านการขนส่งเพิ่มขึ้น: ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งมีการปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่อง มาจากการปรับระดับราคาของพลังงาน เช่น น้ำมัน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ MSME