ภาพรวมเครื่องชี้สถานการณ์ SME

รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลทางสถิติของ MSME อย่างครอบคลุม และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์เชิงนโยบายและจัดทำมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ MSME ได้อย่างเฉพาะเจาะจงในแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ

ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ MSME ด้วยชื่อหรือคำอธิบายข้อมูล
ภาพรวมเครื่องชี้สถานการณ์ SME
/
เครื่องชี้สถานการณ์ MSME
เครื่องชี้สถานการณ์ SME
เครื่องชี้สถานการณ์ MSME

ภาพรวมเครื่องชี้สถานการณ์ SME: เครื่องชี้สถานการณ์ MSME

ไตรมาสที่ 3 ปี 2567
GDP MSME
เลือกดูไตรมาสอื่น
ดัชนีค่าดัชนี%QoQ
ดัชนีรายได้96.292.38
ดัชนีต้นทุน103.696.53
หมายเหตุ:
ปีฐาน คือ ปี 2564 ไตรมาสที่ 4
ดาวน์โหลด
รายละเอียดข้อมูล
วันที่เผยแพร่
12 สิงหาคม 2567
ที่มาข้อมูล
  • ข้อมูล GDP MSME ปี 2566: สวค. (2567).
หมายเหตุเพิ่มเติม
ข้อมูลนี้ไม่ได้ครอบคลุมรายละเอียด
บทวิเคราะห์เครื่องชี้วัดและสถานการณ์ MSME ไตรมาส 3/2567

ดัชนีรายได้ MSME ไตรมาส 2/2567 มีการปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.15 และปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 2.38 (%YoY) เมื่อพิจารณารายสาขา สาขาการบริการฟื้นตัวอย่างชัดเจนในไตรมาส 2-3 สะท้อนถึงการฟื้นตัวของธุรกิจการบริการ (ร้านอาหารและเครื่องดื่ม การก่อสร้าง) โดยเมื่อเปรียบเทียบ กับในไตรมาส 2/2567 อัตราการเติบโตของ GDP ประเทศเติบโตที่ร้อยละ 2.29 (%YoY) และ GDP MSME ร้อยละ 3.91 (%YoY) สอดคล้องกันไปในทิศทางเดียวกันทั้งนี้ปัจจัยสนับสนุนให้รายได้ MSME เพิ่มขึ้นคือ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว รวมไปถึงการเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐ เมื่อพิจารณาสาขาที่มีผลกระทบต่อรายได้ MSME ในภาพรวมสังเกตได้จากสาขาการค้าดัชนีรายได้ปรับลดลงอย่างเห็นทั้งสองไตรมาสเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 7 ในไตรมาสสองและร้อยละ 2 ในไตรมาส 3 สอดคล้องดัชนีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นทั้งสองไตรมาส โดยมีปัจจัยที่สนับสนุน ค่าเงินบาทแข็งค่าในช่วงที่ผ่านมา ราคาสินค้าจากต่างประเทศมีราคาถูกทำให้มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจำนวนมากขึ้น

ดัชนีต้นทุน MSME ไตรมาส 2-3/2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.60 (%YoY) และ 6.53 (%YoY) ตามลำดับส่วนหนี่งจากปัจจัยราคาพลังงานภายในประเทศ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค อัตราเงินเฟ้อ กระทบต่อต้นทุนของ MSME โดยตรงเห็นได้จากดัชนีต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนค่าขนส่ง ต้นทุนค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ปรับเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 และคาดว่าจะชะลอตัวในไตรมาส 3 ทั้งนี้ต้นทุนทางการเงิน เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีต้นทุนหนึ่งที่ทำให้ MSME ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในทุกเดือน ซึ่งต้นทุนดังกล่าวมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ด้วยรายได้ของ MSME ไม่สามารถโตได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความาสามารถในการทำกำไรของ MSME ปรับตัวเพิ่มเล็กน้อยในไตรมาส 2 และลดลงถึงร้อยละ 4 ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่า SME ยังคงต้องเผชิญกับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และความท้าทายจากกำลังซื้อภายในประเทศลดลงและแรงกดดันในหลายมิติจากการตีตลาดของสินค้านำเข้า ประกอบกับเครื่องชี้วัดทางการเงิน เช่น การลดลงของมูลค่าสินทรัพย์ การลดลงของสัดส่วนสินทรัพย์หมุนเวียนต่อหนี้สินหมุนเวียนรวมถึงการเพิ่มขึ้นของวงจรเงินสดทำให้เห็นว่า SME ก็มีเผชิญกับปัญหาเรื่องของสภาพคล่องระยะสั้น แม้ในภาพรวมจะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นก็ตาม

ทั้งนี้ต้องติดตามในไตรมาส 4/2567 ถึงต้นทุนของ SME จากการประกาศการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท รวมถึงสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (เงินดิจิทัลวอลเล็ต) ที่แจกให้กับกลุ่มเปราะบางเป็นกลุ่มแรก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้มีผลกระทบต่อ SME เป็นอย่างมาก

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

บทวิเคราะห์เครื่องชี้วัดและสถานการณ์ MSME ไตรมาส 1/2567
บทวิเคราะห์เครื่องชี้วัดและสถานการณ์ MSME ไตรมาส 4/2566
บทวิเคราะห์เครื่องชี้วัดและสถานการณ์ MSME ไตรมาส 3/2566